นักวิจัยไทยเจ๋ง คว้ารางวัลนวัตกรรมระดับโลก ในหมวดคอสเมติก การประกวด “สิ่งประดิษฐ์นานาชาติ เจนีวา ครั้งที่ 48” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส จากผู้เข้าแข่งขันกว่า 150 ผลงาน จากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก และยังเป็นทีมวิจัยคนไทยทีมแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จในการวิจัยสารสำคัญจากลูกซัด มาผลิตเป็นเครื่องสำอาง
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของนักวิจัยจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจต่างๆ รวม 38 หน่วยงาน เข้าร่วมประกวดแข่งขันในเวทีระดับโลก ในงาน “สิ่งประดิษฐ์นานาชาติ เจนีวา ครั้งที่ 48” หรือ “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva” ระหว่างวันที่ 26-30 เมษายน 2566 โดยผลิตภัณฑ์ ”เซรั่ม HERBISTHA” ผลงานวิจัยจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NANOTEC ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สามารถคว้ารางวัลนวัตกรรม “ bronze Medal” ในหมวดคอสเมติก ได้เป็นผลสำเร็จ จากผู้เข้าแข่งขันในหมวดคอสติกทั้งสิ้นกว่า 150 ผลงาน จาก 40 กว่าประเทศทั่วโลก
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดยคุณวลีวัลย์ ผ่องสุภา ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน ร่วมกับบริษัทไอเดียทูเอ็กซ์เพิร์ท จำกัด นำโดย คุณพินิจ เขื่อนสุวงศ์ ได้วิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงจากอนุภาคลิโปนิโอโซมของสารสกัดลูกซัด ซึ่งจากการทดลองสกัดสารสำคัญและวิเคราะห์ฤทธิ์ทางชีวภาพในลูกซัด พบว่าคุณสมบัติที่สำคัญที่จะให้กับผิว โดย ผลงานวิจัยเซรั่ม HERBISTHA ใช้เวลากว่า 4 ปี ในการวิจัยและพัฒนาสูตรตำรับเซรั่มชะลอวัย ลดริ้วรอย หลังพบสารสำคัญ Lactoluxin ® (แล็คโตลูซิน) จากเมล็ดสมุนไพรฟีนูกรีก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส ช่วยชะลอการสลายตัวของคอลลาเจนบนผิว และมีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทีมวิจัย ได้ใช้นวัตกรรม “นาโนเทคโนโลยี ทำให้สารสกัดอยู่ในรูปแบบของอนุภาคลิโปนิโอโซม” ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของศูนย์นาโนเทค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพร ให้ซึมลึกทำงานสู่ผิวด้านในอย่างตรงจุด และไม่ทำให้สารสำคัญสลายตัวบนผิวชั้นนอก สามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส เพิ่มขึ้นได้เกือบ 2 เท่า โดยสารสกัดในตำรับ มาจากสมุนไพรธรรมชาติ ปราศจากสารสกัดจากสัตว์ทุกชนิด
โดยได้มีการทดสอบใน LAB ปฏิบัติการ และทดสอบ clinical trial ในอาสาสมัคร ร่วมกับโรงพยาบาลภูมิพล และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พบว่า หลังใช้เพียง 2 สัปดาห์ ริ้วรอยบนผิวหน้าตื้นขึ้นมากกว่า 12% เมื่อเทียบกับข้างที่ไม่ได้ทา และมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในสัปดาห์ที่ 2 และเพิ่มขึ้นสูงกว่า 63% หลังใช้สัปดาห์ที่ 4 ซึ่งบางราย ค่าความชุ่มชื้นสูงมากกว่า 100%
นอกจากนี้ ยังได้มีการทดสอบการระคายเคืองในกลุ่มอาสาสมัคร โดยไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองใดๆ หลังใช้เพียงข้ามคืน จะรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของผิวหน้า จะมีความอิ่มน้ำ และผิวนุ่มขึ้น และผลงานวิจัยเซรั่ม Herbistha ตัวนี้ ยังได้ตีพิมม์ในวารสาร Pharmaceuticals ที่สวิตเซอร์เเลนด์ อีกด้วย
ทั้งนี้สูตรตำรับดังกล่าวได้มีการยกระดับการผลิตจากห้องปฏิบัติการวิจัย สู่การผลิต ณ โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติอีกด้วย
ที่สำคัญการวิจัย จนได้ผลิตภัณฑ์ เซรั่ม Herbistha ในครั้งนี้ ยังถือว่าเป็นเจ้าเดียวในโลก เพราะเป็นทีมวิจัยไทยรายแรกของโลกที่ค้นพบ สารมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส ช่วยชะลอการสลายตัวของคอลลาเจนบนผิว และมีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่ ในลูกซัดที่มาใช้ในเครื่องสำอาง ทั้งนี้ในประเทศไทย ลูกซัดมีการนำมาใช้ในรูปแบบของเครื่องเทศเท่านั้น
คุณพินิจ เขื่อนสุวงศ์ นักวิจัยและพัฒนา และเจ้าของผลิตภัณฑ์ เซรั่ม Herbistha กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่โตจากภาคการเกษตร โดยรางวัลที่ได้ เป็นสิ่งบ่งบอกว่าเรามีนวัตกรรมด้านการเกษตร เป็นยกระดับสินค้าของไทย ให้เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับโลก ทำให้สามารถต่อยอดได้อย่างหลากหลาย และภูมิใจมากที่ได้รับรางวัลนี้
หลังจากนี้ จะมีการพัฒนาในรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น การป้องปกผิวจากการทำลายของแสงแดด พร้อมย้ำว่า เซรั่ม Herbistha สามารถบอกได้ว่าสามารถสู้กับเซรั่มเคาน์เตอร์แบรนด์ได้อย่างแน่นอน เพราะมีจุดเด่นในการเน้นสารสกัดจากสมุนไพรเป็นหลัก ไม่เน้นการใช้สารเคมี และมีผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน รวมไปถึงการทดสอบกับอาสาสมัครจริง ที่ทำกับร่วมกับหน่วยงานรัฐ เช่นโรงพยาบาลภูมิพล และคณะเภสัชศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต จึงขอยืนยันว่า จะมีฤทธิ์ที่ดีกว่า และมีความปลอดภัยสูง ราคาก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย ส่วนการทำตลาดต่างประเทศ จะเน้นโมเดลธุรกิจเรื่องการจำหน่าย ตัวสารสกัดแทน เพราะการเจาะตลาดในต่างประเทศในรูปแบบผลิตภัณฑ์ ยังมีอุปสรรคพอสมควร จึงถือว่าเป็นการปูทางไปก่อน เบื้องต้นได้รับความสนใจ จากกลุ่ม LVMP หรือกลุ่มธุรกิจแฟชั่นหรูที่ประสบความสำเร็จระดับโลก
ส่วนช่องทางการจำหน่ายในประเทศ มีการขายออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ และวางจำหน่ายที่ SHOP ของ สวทช. ทั้งนี้หากมีผู้ประกอบการไทย สนใจก็สามารถนำผลิตภัณฑ์ไปต่อยอดได้เช่นกัน