ททท. เปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยว “Unseen New Series” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมเปิดตัวชุมชน
เพื่อการท่องเที่ยว
วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565 ณ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
นางสาว ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยว “Unseen New Series” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ
25 Unseen New Series ของ ททท. โดย ททท. ได้คัดเลือกแหล่งท่องเที่ยว อันซีนไทยแลนด์เวอร์ชั่นใหม่ จำนวน 25 แหล่งท่องเที่ยวจากทั่วประเทศ นำมาเป็นจุดขายใหม”ทางการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น สำหรับแหล่งท่องเที่ยว Unseen New Series ในภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบไปด้วย 5 แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา(เมืองใต้พิภพและเมืองลอยฟ้า) จ.นครราชสีมา, เมืองพญานาค 3 พิภพ จ.มุกดาหาร, ภูพระ (ภูเขาแห่ง
แรงศรัทธา) จ.เลย, หอโหวด 101 จ.ร้อยเอ็ด และโลกของช้าง จ.สุรินทร์
นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ กล่าวว่า เปิดโฉมใหม” “Unseen New Series” เป็นแคมเปญ ททท.ชวนเที่ยวเมืองไทย ออกไปสัมผัสกับเมืองไทย ในมุมที่เราอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน ผ่านแหล่งท่องเที่ยว25 แห่ง 5 ภูมิภาคทั่วไทย ซึ่งมีทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man Made) โดยโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา กฟผ. ก็เป็น 1 ใน 5 แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการคัดสรรให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว Unseen และ BCG Model ที่โดดเด่นของภาคอีสาน นับเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยว
ใหม่ “เมืองลอยฟ้า” (อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง) ซึ่งถูกกล่าวขานว่าเป็นจุดชมวิวหมื่นล้านที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของไทย รวมถึงเป็นที่ตั้งของ “เมืองใต้พิภพ” (อุโมงค์โรงไฟฟ้าใต้ดิน) ที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินกว่า 1.5 กิโลเมตร
ใช้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการสูบน้ำจากเขื่อนลำตะคองไปเก็บไว้ที่อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยงนับเป็น Unseen จุดเช็คอินที่ไม่เหมือนใคร
นอกจากนี้ ภายในงาน ททท. ยังมีการพาผู้สื่อข่าวและตัวแทนบริษัทนำเที่ยวโดยเฉพาะสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (TEATA) และได้รับการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า100% (บริษัท เบส ออโตUเซลล8 จำกัด
และ ไพรม์มัส ออโต้เฮาส์) ร่วมออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวสายสุขภาพ กัญชง กัญชา BCG Model และ Happy Model ผนวกเข้าร่วมกิจกรรมเปิดตัวชุมชนท่องเที่ยวทั่วประเทศ 25 ชุมชน (ประกอบด้วย ภาคเหนือ 1.สุโขทัย (ชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย) 2. เชียงราย (ชุมชนปางห้า) 3. น่าน (ชมุชนบ้านม่วงตื๊ด) 4. แม่ฮ่องสอน (ชุมชนเมืองปอน) 5. ตาก (ยะพอ) ภาคกลาง 6.สุพรรณบุรี (ชุมชนบ้านดงเย็น) 7. เพชรบุรี (ชุมชนบ้านถ้ำเสือ) 8. สระบุรี (ชุมชนบ้านพุแค) 9. อยุธยา (ชุมชนเกาะเกิด) 10. ชัยนาท (ชุมชนตลาดโรงพักเก่าสรรพยา) ภาคอีสาน 11. นครราชสีมา (ชุมชนเขายายเที่ยง) 12. เลย (ชุมชนภูป่าเปาะ) 13. หนองคาย (ชุมชนบ้านเดื่อ) 14. อุบลราชธานี (ชุมชนบ้านชีทวน) 15. ชัยภูมิ (ชัยภูมิ) ภาคใต้ 16. สตูล (ชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก)
17. นครศรีธรรมราช (ชุมชนบ้านพรหมโลก) 18. ระนอง (ชุมชนม่วงกลวง) 19. ตรัง (ชุมชนบ่อหินฟาร์มสเตย์) 20. ปัตตานี (ชุมชนบ้านทรายขาว) ภาคตะวันออก 21. ชลบุรี (ชุมชนบ้านซากแง้ว) 22. จันทบุรี (ชุมชนท่องเที่ยวบ้านเสด็จงาม) 23. ตราด (ชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง) 24. สมุทรปราการ (ชุมชนบ้านกอบัว) 25. นครนายก (ชุมชนบ้านวังรี) โดยพร้อมกิจกรรมนำร่องชุมชนท่องเที่ยวเขายายเที่ยง นักท่องเที่ยวจะได้พบกับกิจกรรมปลูกป่าลอยฟ้า ชมเขาเควสตา และผาชัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) ริเริ่มโดย ททท. มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ทำความรู้จักเรียนรู้ และทดลองทำกิจกรรมที่น่าสนใจกับเจ้าของพื้นที่ ซึ่งผลประโยชน์ที่จะได้รับก็คือนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ จากประสบการณ์จริงของปราชญ์ชาวบ้าน เกิดความรักความผูกพันต่อวิถีความเป็นอยู”ของสถานที่ที่ได้ไปเยือน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของตน และเกิดแรงบันดาลใจใหม่ ๆ จากการเดินทางท่องเที่ยว ในทางกลับกัน การใช้เวลาเพื่อทำกิจกรรมในแต่ละแหล่งท่องเที่ยวย่อมส่งผลให้เกิดการพักค้างที่นานขึ้น เกิดการใช้จ่าย ในการประกอบกิจกรรมมากขึ้น กระจายรายได้นั้นไปสู”ระดับสังคม ชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริงและยั่งยืนต่อไป
ททท. คาดว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวโดยรวมจะสามารถกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้อย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวนี้ นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวชาวไทยไปสู”พื้นที่รอง ลดการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยวในเมืองหลัก
สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองของ ททท. รวมทั้ง สร้างการรับรู้ภาพลักษณ์โฉมใหม”“Cool Isan in Love” ของภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือในมุมมองใหม”บนพื้นฐานของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)
และต้องขอขอบคุณหน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมสนับสนุนในเชิงบูรณาการ อันประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย และชุมชนเขายายเที่ยง